Peace in Oneself, Peace in The world สู่ศานติสมานฉันท์Dear friends, This content is about Thay Dharma talk 23-27 May 2010 in ThailandThe content is only in Thai language.สรุปบรรยายธรรมและเนื้อหาจากงานภาวนา "สู่ศานติสมานฉันท์" 23-27 พฤษภาคม 2550 ณ ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ล้านนา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ โดย พรรัตน์ วชิราชัย ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอเรามักจะคิดมากเกินไปตลอดเวลา และส่วนใหญ่มักไม่เป็นประโยชน์นัก ความคิดของเราเต็มไปด้วยความกลัว หงุดหงิด ความโกรธ เมื่อถึงเวลาที่เราต้องนอน เราไม่สามารถหลับได้ และเรามักหันไปพึ่งยานอนหลับ ความลับที่พระพุทธองค์หยิบยื่นให้เรา คือ "สติ" การกลับมา อยู่กับลมหายใจ และหยุดคิดเกี่ยวกับอดีตหรือนาคตการกลับมาตามลมหายใจเป็นการรวมใจและกายให้เป็นหนึ่งเดียวกันในปัจจุบันขณะ การดำรงอยู่ในปัจจุบันขณะทำให้เรา สามารถสัมผัส "ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ" เพราะชีวิตคือปัจจุบัน การมีสติอยู่เสมอจะทำให้เธอรู้ว่า กำลังเกิดอะไรขึ้นใน ปัจจุบัน หากเธอคิดมากเกินไปเสมอ เมื่อพระอาทิตย์ตกดิน เธอจะไม่มีความสามารถที่จะสัมผัสความงดงาม สดชื่นจากพระอาทิตย์ และธรรมชาติได้เราไม่จำเป็นต้องตายเสียก่อนจึงจะก้าวสู่อาณาจักรของพระพุทธเจ้าได้ หากแต่อยู่กับปัจจุบันอย่างเต็มที่ เราจะสามารถ สัมผัสกับดินแดนสุขาวดีหรือสรวงสวรรค์ได้ พระพุทธเจ้าอยู่ตรงนั้นเสมอ 24 ชั่วโมง ดินแดนสุขาวดีหรือสรวงสวรรค์อยู่ตรงนั้นเสมอ 24 ชั่วโมงความสุขคือการตรัสรู้ เราไม่มีหนทางแห่งการตรัสรู้ แต่การตรัสรู้คือหนทาง วิถีแห่งการตรัสรู้เริ่มแรกคือ การมีสติอยู่เสมอ ไม่ว่าเธอกำลังเดิน นั่ง หรือดื่มชา โปรดรู้ไว้ว่าการตรัสรู้ที่ยิ่งใหญ่มาจากการตรัสรู้เล็กๆ น้อยๆ ในปัจจุบันขณะเราชินที่จะวิ่งอยู่เสมอ เราวิ่งเพราะเรามีความกลัว และเมื่อเราวิ่ง เราไม่สามารถจะดูและตัวเราและคนที่เรารักได้ เราวิ่ง เหมือนดั่งเช่นองคุลีมาล ที่วิ่งตามพระพุทธองค์ พระพุทธองค์คือตรัสถามองคุลีมารว่า "เราหยุดแล้ว ท่านต่างหากที่ไม่หยุด" การมาปฏิบัติภาวนาเช่นนี้ก็เพื่อเรียนรู้ที่จะหยุดภาวนากับก้อนกรวดที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส มีเด็กหลายคนจากหลายประเทศ มาร่วม ฝึกปฏิบัติด้วย วิธีที่พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ สอนการภาวนาให้กับ เด็กๆ คือ "ภาวนากับก้อนกรวด" เป็นวิธีการง่ายๆ ที่มีความสุข เริ่มจากเราควรมีถุงเล็กๆ สำหรับเก็บก้อนกรวด 4 ก้อน เมื่อเราต้องการทำสมาธิภาวนา ให้หยิบถุงนี้ขึ้นมา และนั่งล้อมกันเป็นวงกลม เด็กคนหนึ่งเป็นผู้เชิญระฆัง 3 ครั้ง เพื่อเชื้อเชิญให้เรา กลับมาสู่บ้านที่แท้จริงเมื่อเริ่มภาวนา เราหยิบ ก้อนกรวดก้อนแรก ขึ้นมา ประสานไว้ บนมือ พร้อมให้ก้อนกรวดก้อนนี้เป็นตัวแทนของ "ดอกไม้"หายใจเข้าหายใจออกฉันเป็นดั่งดอกไม้ฉันสดชื่น (ดอกไม้/สดชื่น)การภาวนาเช่นนี้เป็นการฟื้นฟูความสดชื่น แจ่มใส ความเป็นดอกไม้ ในตัวเรามนุษย์เองก็เป็นดอกไม้เช่นกัน เราเป็นดอกไม้แห่งมนุษยชาติ เด็กๆ ก็คือ ดอกไม้ พวกเขามีความสดชื่นอยู่เสมอ เราควรภาวนาดอกไม้ อยู่เสมอ เพราะมันจะช่วยรักษาความสดชื่นให้กับเรา และเราจะมีความ สามารถหยิบยื่นดอกไม้ ให้คนรอบข้างได้หลังจากภาวนาก้อนกรวดก้อนแรกเสร็จ เราวางก้อนกรวดก้อนนี้ลง พร้อมหยิบ ก้อนกรวดก้อนที่สอง ขึ้น โดยให้มันเป็นตัวแทนของ "ภูเขา" คือความมั่นคงในตัวเราหายใจเข้าหายใจออก ฉันเป็นดั่งขุนเขาฉันมั่นคง (ขุนเขา/มั่นคง)หากเราปราศจากความมั่นคงหนักแน่นแล้ว เราก็ไม่สามารถที่จะมี ความสุขได้ เพราะเมื่อเราเป็นคนอ่อนไหว เราก็ไม่สามารถเป็นที่พึ่ง ให้ใครได้ รวมถึงตัวเราเองด้วย ฉะนั้นการภาวนาในเรื่องนี้จึงสำคัญมากสำหรับ ก้อนกรวดก้อนที่ 3 คือตัวแทนของ "น้ำใส" เราจะ ภาวนาว่าหายใจเข้าหายใจออกฉันเป็นดั่งน้ำใสฉันสะท้อนสิ่งต่างๆ ดั่งที่มันเป็น (น้ำนิ่ง/สะท้อน)เมื่อเราโกรธ อิจฉาหรืออยู่ในภาวะอารมณ์ที่รุนแรง เราไม่สามารถ ที่จะมองสิ่งต่างๆ ได้อย่างชัดเจน เราอาจมีความคิดเห็นที่ผิด และ มีอคติ ต่อสิ่งนั้น การภาวนาเช่นนี้ช่วยบ่มเพาะความนิ่ง ใส ชัดเจน ไม่บิดเบือน ให้แก่ตัวเราก้อนกรวดก้อนสุดท้าย เป็นตัวแทนของ "ความว่าง"หายใจเข้าหายใจออก ฉันเป็นดั่งความว่างฉันเป็นอิสระ (ความว่าง/อิสระ)ความว่างในที่นี้ หมายถึง พื้นที่ว่างในหัวใจและพื้นที่ว่างรายล้อมเรา เมื่อเรารู้สึกเป็นอิสระ เราจะมีพื้นที่มากมายแบ่งปันอยู่อื่น เราจะพร้อมที่จะ ให้พื้นที่กับผู้อื่น โดยเฉพาะบุคคลที่เรารักหลายครั้งความรักของเรามักเป็นกรง ขัง ฉะนั้นเมื่อเรารักใครสักคน เราต้องคอยดูอยู่เสมอว่า เราได้ให้ที่ว่างแก่เขามากพอหรือไม่ อย่าทำให้ ความรักของเธอกลายเป็นกรงขังเมล็ดพันธุ์ในตัวเราในจิตใจของเรามีซับซ้อน ซึ่งแบ่งได้คร่าวๆ เป็น 2 ชั้นคือ จิตสำนึก และ จิตใต้สำนึกจิตสำนึกเป็นดั่งห้องรับแขก จิตใต้สำนึกเป็นดั่งใต้ถุนบ้าน ภายในใต้ถุนบ้านหรือจิตใต้สำนึก มีเมล็ดพันธุ์ของอารมณ์มากมาย ทั้งในแง่ดีและไม่ดี เติบโตผ่านประสบการณ์ การเลี้ยงดู และส่งทอดผ่านบรรพบุรุษอารมณ์นั้นเกิดจากการประกอบของจิต หรือ จิตสังขาร จิตใต้สำนึกจะจดจำสิ่งที่เกิดบนจิตสำนึกได้ เราควรฝึกสติอยู่เสมอ เพื่อที่เมล็ดพันธุ์แห่งสติเข้มแข็ง เมื่ออารมณ์ในแง่ลบ เกิดขึ้น เราก็จะเชื้อเชิญให้เมล็ดพันธุ์แห่งสติขึ้นมาโอบอุ้ม เสมือนแม่ที่อุ้มลูกคนที่ไม่เคยฝึกปฏิบัติย่อมไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร และพยายามที่จะกั้นเมล็ดพันธุ์ ที่ไม่พึงพอใจให้ขึ้นมาจากจิตใต้สำนึก โดยทำสิ่งต่างๆ เช่น หาหนังสือพิมพ์มาอ่าน ฟังแพลง ดูโทรทัศน์หรือขับรถไปข้างนอก การบริโภคสิ่งต่างๆ ด้วยความไม่มีสติเช่นนี้ รดน้ำเมล็ดพันธุ์แห่งความอยาก ความโกรธ ความรุนแรง การบริโภคเช่นนี้ยิ่งทำให้จิตใจ ของเราแย่ขึ้นไปอีกการทำเช่นนี้เป็นการปิดวงจรของจิต ทำให้เกิดความเศร้าซึม โรคจิต หรือ โรคทางกาย สาเหตุที่เราป่วยกาย ส่วนหนึ่ง เนื่องมาจากเราไม่รู้จักวิธีการดูแลจิตใจ ของเรานี่เองลมหายใจช่วยให้เราสามารถทำให้เราตระหนักรู้ และเอาความปิดกั้นนั้นออก เมื่อเราเกิดอารมณ์เหล่านั้น เราก็สามารถ เชื้อเชิญลมหายใจแห่งสติมาโอบอุ้มความรู้สึกเหล่านั้น เมื่อความโกรธได้อาบน้ำแห่งสติ สภาพแห่งจิตใจของเราจะดีขึ้นพระอาจารย์ติช นัท ฮันห์แนะนำให้เราฝึกปฏิบัติ เพื่อเป็นการดูแลจิตใต้สำนึกของเรา ดังต่อไปนี้1.บริโภคอย่างมีสติ หลีกเลี่ยงการรดน้ำเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ดี2.สร้างพลังแห่งสติให้เข้มแข็ง3.ไม่เก็บกดอารมณ์ของเรา4.อนุญาตให้อารมณ์ของเราขึ้นมา พร้อมโอบรับด้วยเมล็ดพันธุ์แห่งสติ5.รดน้ำเมล็ดพันธุ์ที่ดีๆ เช่น การฟังบรรยายธรรม บริโภคและสัมผัสสิ่งที่ดีงามประสานรอยร้าว ความกลัวและความรุนแรงในภาคใต้พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ของไทย ให้ทุกฝ่ายมาร่วมนั่งพูดจากันอย่างสันติ เพื่อบรรเทาความขัดแย้งและระแวงสงสัยในกันและกัน โดยให้กลุ่มดังกล่าวมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความกลัว ความระแวง สงสัย ความเจ็บปวดต่างๆ พร้อมทั้งต้อง "ฟังอย่างลึกซึ้ง"ท่านแนะนำให้รัฐบาลไทยเชิญผู้มีปัญญาในสังคมทั้งหมด ผู้แทนและเชื้อเชิญทุกฝ่ายในความขัดแย้งนี้มาฟังกันอย่างลึกซึ้ง ด้วยความเมตตากรุณา เพื่อให้รู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งมีความโกรธแค้นชิงชังและสงสัยคลางแคลงเพราะอะไร แลกเปลี่ยนข้อมูลให้ทุกฝ่ายมีความเข้าใจกันจากการฟังเช่นนี้เอง เราจะตระหนักว่า เราเองก็ได้ทำอะไรผิดพลาดเช่นกัน เราควรใช้โอกาสนี้ในการขอโทษ และสัญญาว่า จะไม่ทำเช่นนั้นอีก เพื่อสมานไมตรีที่ดีต่อกันเริ่มต้นใหม่ในความสัมพันธ์วิธีเริ่มต้นใหม่ในความสัมพันธ์ หรือ Beginning Anew คือ วิธีการดูแลรักษา และ สมานความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งไม่เข้าใจกัน"การเริ่มต้นใหม่ในความสัมพันธ์" คือ วิถีทางในการดูแลความรู้สึกของกันและกัน ด้วยการมองและรับฟังกันและกันอย่างลึกซึ้ง ด้วยสายตาแห่งสติและ ความรักการเริ่มต้นใหม่ เริ่มต้นด้วยการ หว่านวาจาแห่งรัก รดน้ำดอกไม้แห่งการชื่นชม จากใจจริง บอกเล่าความทุกข์ในใจ แบ่งปันความเจ็บปวดและขอความ ช่วยเหลือจากเพื่อน การกระทำเช่นนี้ก่อให้เกิดความเข้าใจ และการช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันอย่างแท้จริงเราจะร่วมเรียนรู้วิธีการ ขั้นตอน การเริ่มต้นใหม่ ในความสัมพันธ์ใน ครอบครัว หมู่เพื่อน ในที่ทำงาน หรือแม้แต่ตัวเราเองวิธีจัดการความโกรธเมื่อเราโกรธใครคนหนึ่งสิ่งที่พระ อาจารย์ติช นัท ฮันห์ได้แนะนำคือการกลับมาตามลมหายใจ เชื้อเชิญพลังแห่งสติขึ้นมา โอบอุ้มพลังแห่งความโกรธ เมื่อเราสงบขึ้น ขอให้เราพยายามสื่อสารกับคนที่เราโกรธ ด้วยข้อความที่เต็มไปด้วยสันติ พระอาจารย์ ติช นัท ฮันห์ ได้แนะนำสามประโยคหลักในการประสานความรู้สึกและความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้1. ที่รักฉันกำลังโกรธ ฉันอยากให้เธอรู้2. ฉันพยายามอย่างดีที่สุดแล้ว3. กรุณาช่วยฉันด้วย และกรุณาอย่าทำอย่างนี้อีก การทำเช่นนี้เป็นการบอกให้คนทั้งคู่ ทั้งผู้ที่โกรธและทำให้โกรธได้มองอย่างลึกซึ้งในตัวเองและอีกฝ่าย ทั้งสองฝ่ายจะมอง อย่างลึกซึ้งว่า ได้ทำอะไรกับอีกฝ่ายและพยายามปรับปรุงพฤติกรรม การสื่อสารเช่นนี้ทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้น เราควรบ่มเพาะวาจา แห่งรัก และฟังกันอย่างลึกซึ้ง เพื่อดูแลความสัมพันธ์ต่อไปพุทธศาสนาสมสมัยเราควรจะทำให้พุทธศาสนาให้ใหม่อยู่ เสมอ ค้นคว้าวิธีการใหม่ๆ ในการนำเสนอ พุทธศาสนา เพื่อให้เข้ากับสมัยใหม่กับคนรุ่นใหม่ เราควรจะอธิบายคำสอนที่ง่าย และ เป็นรูปธรรมคนรุ่นใหม่ ไม่เข้าวัดอีกแล้ว เพราะเราไม่ได้ทำพุทธศาสนาให้ใหม่ เราต้องทำให้ พุทธศาสนาให้น่าสนใจ และมองให้ลึกซึ้งในคำสอนของพุทธองค์การปฏิบัติควรนำมาซึ่งความสมานฉันท์ สงบ สันติ และความสุข พระพุทธเจ้า ตรัสว่า พระธรรมนั้นมีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และบั้นปลาย เราต้องใช้ความ พยายามที่จะใช้ปัญญาไหวพริบ ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อทำให้พระธรรมเป็นสิ่งที่ เข้าใจง่าย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่มองอย่างลึกซึ้ง : ไร้การเกิด ไร้การตายเมื่อเรามองอย่างลึกซึ้งในสรรพสิ่ง จะพบว่าไม่มีการเกิด หรือการดับ แต่เป็นการสืบเนื่อง ดั่งเช่นเมฆ เมื่อมองอย่างลึกซึ้ง เราอาจถามว่า ก้อนเมฆมาจากไหน และจะไปไหนเมื่อตายแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างเราและก้อนเมฆคืออะไร?ก้อนเมฆได้เกิดมาก่อนจะเป็นก้อนเมฆ เคยเป็น ฝน หิมะ ตอนนี้กลายเป็นน้ำชาในมือเรา และกำลังกลายเป็นคำพูด บรรยายธรรม ฉะนั้นการเกิดการตายนั้นหามีไม่ แต่เป็นการสืบเนื่องของชีวิตเช่นเดียวกับตัวเราเอง ก่อนที่เราจะเกิด เราอยู่ในครรภ์ของมารดามาก่อน เราอาจบอกว่าเราเกิดเมื่อปฏิสนธิ แต่เราอาจถามว่า เราอยู่มา ก่อนนั้นหรือเปล่า? ถ้ามองให้ลึกซึ้งเราดำรงอยู่ก่อนหน้านั้น ครึ่งหนึ่งอยู่ในพ่อ ครึ่งหนึ่งอยู่ในแม่ ฉะนั้นในขณะที่เราเกิด คือ ช่วงขณะแห่งการสืบเนื่องความคิดว่ามีการเกิด การตาย เป็นความจริงจากการสมมุติความจริงขึ้น แต่หากเรามองอย่างลึกซึ้งเราจะเห็นความจริงสูงสุด คือ ธรรมชาติของการไร้การเกิดและการตาย หรือ นิพพาน
Dear friends, This content is about Thay Dharma talk 23-27 May 2010 in ThailandThe content is only in Thai language.สรุปบรรยายธรรมและเนื้อหาจากงานภาวนา "สู่ศานติสมานฉันท์" 23-27 พฤษภาคม 2550 ณ ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ล้านนา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ โดย พรรัตน์ วชิราชัย ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอเรามักจะคิดมากเกินไปตลอดเวลา และส่วนใหญ่มักไม่เป็นประโยชน์นัก ความคิดของเราเต็มไปด้วยความกลัว หงุดหงิด ความโกรธ เมื่อถึงเวลาที่เราต้องนอน เราไม่สามารถหลับได้ และเรามักหันไปพึ่งยานอนหลับ ความลับที่พระพุทธองค์หยิบยื่นให้เรา คือ "สติ" การกลับมา อยู่กับลมหายใจ และหยุดคิดเกี่ยวกับอดีตหรือนาคตการกลับมาตามลมหายใจเป็นการรวมใจและกายให้เป็นหนึ่งเดียวกันในปัจจุบันขณะ การดำรงอยู่ในปัจจุบันขณะทำให้เรา สามารถสัมผัส "ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ" เพราะชีวิตคือปัจจุบัน การมีสติอยู่เสมอจะทำให้เธอรู้ว่า กำลังเกิดอะไรขึ้นใน ปัจจุบัน หากเธอคิดมากเกินไปเสมอ เมื่อพระอาทิตย์ตกดิน เธอจะไม่มีความสามารถที่จะสัมผัสความงดงาม สดชื่นจากพระอาทิตย์ และธรรมชาติได้เราไม่จำเป็นต้องตายเสียก่อนจึงจะก้าวสู่อาณาจักรของพระพุทธเจ้าได้ หากแต่อยู่กับปัจจุบันอย่างเต็มที่ เราจะสามารถ สัมผัสกับดินแดนสุขาวดีหรือสรวงสวรรค์ได้ พระพุทธเจ้าอยู่ตรงนั้นเสมอ 24 ชั่วโมง ดินแดนสุขาวดีหรือสรวงสวรรค์อยู่ตรงนั้นเสมอ 24 ชั่วโมงความสุขคือการตรัสรู้ เราไม่มีหนทางแห่งการตรัสรู้ แต่การตรัสรู้คือหนทาง วิถีแห่งการตรัสรู้เริ่มแรกคือ การมีสติอยู่เสมอ ไม่ว่าเธอกำลังเดิน นั่ง หรือดื่มชา โปรดรู้ไว้ว่าการตรัสรู้ที่ยิ่งใหญ่มาจากการตรัสรู้เล็กๆ น้อยๆ ในปัจจุบันขณะเราชินที่จะวิ่งอยู่เสมอ เราวิ่งเพราะเรามีความกลัว และเมื่อเราวิ่ง เราไม่สามารถจะดูและตัวเราและคนที่เรารักได้ เราวิ่ง เหมือนดั่งเช่นองคุลีมาล ที่วิ่งตามพระพุทธองค์ พระพุทธองค์คือตรัสถามองคุลีมารว่า "เราหยุดแล้ว ท่านต่างหากที่ไม่หยุด" การมาปฏิบัติภาวนาเช่นนี้ก็เพื่อเรียนรู้ที่จะหยุดภาวนากับก้อนกรวดที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส มีเด็กหลายคนจากหลายประเทศ มาร่วม ฝึกปฏิบัติด้วย วิธีที่พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ สอนการภาวนาให้กับ เด็กๆ คือ "ภาวนากับก้อนกรวด" เป็นวิธีการง่ายๆ ที่มีความสุข เริ่มจากเราควรมีถุงเล็กๆ สำหรับเก็บก้อนกรวด 4 ก้อน เมื่อเราต้องการทำสมาธิภาวนา ให้หยิบถุงนี้ขึ้นมา และนั่งล้อมกันเป็นวงกลม เด็กคนหนึ่งเป็นผู้เชิญระฆัง 3 ครั้ง เพื่อเชื้อเชิญให้เรา กลับมาสู่บ้านที่แท้จริงเมื่อเริ่มภาวนา เราหยิบ ก้อนกรวดก้อนแรก ขึ้นมา ประสานไว้ บนมือ พร้อมให้ก้อนกรวดก้อนนี้เป็นตัวแทนของ "ดอกไม้"หายใจเข้าหายใจออกฉันเป็นดั่งดอกไม้ฉันสดชื่น (ดอกไม้/สดชื่น)การภาวนาเช่นนี้เป็นการฟื้นฟูความสดชื่น แจ่มใส ความเป็นดอกไม้ ในตัวเรามนุษย์เองก็เป็นดอกไม้เช่นกัน เราเป็นดอกไม้แห่งมนุษยชาติ เด็กๆ ก็คือ ดอกไม้ พวกเขามีความสดชื่นอยู่เสมอ เราควรภาวนาดอกไม้ อยู่เสมอ เพราะมันจะช่วยรักษาความสดชื่นให้กับเรา และเราจะมีความ สามารถหยิบยื่นดอกไม้ ให้คนรอบข้างได้หลังจากภาวนาก้อนกรวดก้อนแรกเสร็จ เราวางก้อนกรวดก้อนนี้ลง พร้อมหยิบ ก้อนกรวดก้อนที่สอง ขึ้น โดยให้มันเป็นตัวแทนของ "ภูเขา" คือความมั่นคงในตัวเราหายใจเข้าหายใจออก ฉันเป็นดั่งขุนเขาฉันมั่นคง (ขุนเขา/มั่นคง)หากเราปราศจากความมั่นคงหนักแน่นแล้ว เราก็ไม่สามารถที่จะมี ความสุขได้ เพราะเมื่อเราเป็นคนอ่อนไหว เราก็ไม่สามารถเป็นที่พึ่ง ให้ใครได้ รวมถึงตัวเราเองด้วย ฉะนั้นการภาวนาในเรื่องนี้จึงสำคัญมากสำหรับ ก้อนกรวดก้อนที่ 3 คือตัวแทนของ "น้ำใส" เราจะ ภาวนาว่าหายใจเข้าหายใจออกฉันเป็นดั่งน้ำใสฉันสะท้อนสิ่งต่างๆ ดั่งที่มันเป็น (น้ำนิ่ง/สะท้อน)เมื่อเราโกรธ อิจฉาหรืออยู่ในภาวะอารมณ์ที่รุนแรง เราไม่สามารถ ที่จะมองสิ่งต่างๆ ได้อย่างชัดเจน เราอาจมีความคิดเห็นที่ผิด และ มีอคติ ต่อสิ่งนั้น การภาวนาเช่นนี้ช่วยบ่มเพาะความนิ่ง ใส ชัดเจน ไม่บิดเบือน ให้แก่ตัวเราก้อนกรวดก้อนสุดท้าย เป็นตัวแทนของ "ความว่าง"หายใจเข้าหายใจออก ฉันเป็นดั่งความว่างฉันเป็นอิสระ (ความว่าง/อิสระ)ความว่างในที่นี้ หมายถึง พื้นที่ว่างในหัวใจและพื้นที่ว่างรายล้อมเรา เมื่อเรารู้สึกเป็นอิสระ เราจะมีพื้นที่มากมายแบ่งปันอยู่อื่น เราจะพร้อมที่จะ ให้พื้นที่กับผู้อื่น โดยเฉพาะบุคคลที่เรารักหลายครั้งความรักของเรามักเป็นกรง ขัง ฉะนั้นเมื่อเรารักใครสักคน เราต้องคอยดูอยู่เสมอว่า เราได้ให้ที่ว่างแก่เขามากพอหรือไม่ อย่าทำให้ ความรักของเธอกลายเป็นกรงขังเมล็ดพันธุ์ในตัวเราในจิตใจของเรามีซับซ้อน ซึ่งแบ่งได้คร่าวๆ เป็น 2 ชั้นคือ จิตสำนึก และ จิตใต้สำนึกจิตสำนึกเป็นดั่งห้องรับแขก จิตใต้สำนึกเป็นดั่งใต้ถุนบ้าน ภายในใต้ถุนบ้านหรือจิตใต้สำนึก มีเมล็ดพันธุ์ของอารมณ์มากมาย ทั้งในแง่ดีและไม่ดี เติบโตผ่านประสบการณ์ การเลี้ยงดู และส่งทอดผ่านบรรพบุรุษอารมณ์นั้นเกิดจากการประกอบของจิต หรือ จิตสังขาร จิตใต้สำนึกจะจดจำสิ่งที่เกิดบนจิตสำนึกได้ เราควรฝึกสติอยู่เสมอ เพื่อที่เมล็ดพันธุ์แห่งสติเข้มแข็ง เมื่ออารมณ์ในแง่ลบ เกิดขึ้น เราก็จะเชื้อเชิญให้เมล็ดพันธุ์แห่งสติขึ้นมาโอบอุ้ม เสมือนแม่ที่อุ้มลูกคนที่ไม่เคยฝึกปฏิบัติย่อมไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร และพยายามที่จะกั้นเมล็ดพันธุ์ ที่ไม่พึงพอใจให้ขึ้นมาจากจิตใต้สำนึก โดยทำสิ่งต่างๆ เช่น หาหนังสือพิมพ์มาอ่าน ฟังแพลง ดูโทรทัศน์หรือขับรถไปข้างนอก การบริโภคสิ่งต่างๆ ด้วยความไม่มีสติเช่นนี้ รดน้ำเมล็ดพันธุ์แห่งความอยาก ความโกรธ ความรุนแรง การบริโภคเช่นนี้ยิ่งทำให้จิตใจ ของเราแย่ขึ้นไปอีกการทำเช่นนี้เป็นการปิดวงจรของจิต ทำให้เกิดความเศร้าซึม โรคจิต หรือ โรคทางกาย สาเหตุที่เราป่วยกาย ส่วนหนึ่ง เนื่องมาจากเราไม่รู้จักวิธีการดูแลจิตใจ ของเรานี่เองลมหายใจช่วยให้เราสามารถทำให้เราตระหนักรู้ และเอาความปิดกั้นนั้นออก เมื่อเราเกิดอารมณ์เหล่านั้น เราก็สามารถ เชื้อเชิญลมหายใจแห่งสติมาโอบอุ้มความรู้สึกเหล่านั้น เมื่อความโกรธได้อาบน้ำแห่งสติ สภาพแห่งจิตใจของเราจะดีขึ้นพระอาจารย์ติช นัท ฮันห์แนะนำให้เราฝึกปฏิบัติ เพื่อเป็นการดูแลจิตใต้สำนึกของเรา ดังต่อไปนี้1.บริโภคอย่างมีสติ หลีกเลี่ยงการรดน้ำเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ดี2.สร้างพลังแห่งสติให้เข้มแข็ง3.ไม่เก็บกดอารมณ์ของเรา4.อนุญาตให้อารมณ์ของเราขึ้นมา พร้อมโอบรับด้วยเมล็ดพันธุ์แห่งสติ5.รดน้ำเมล็ดพันธุ์ที่ดีๆ เช่น การฟังบรรยายธรรม บริโภคและสัมผัสสิ่งที่ดีงามประสานรอยร้าว ความกลัวและความรุนแรงในภาคใต้พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ของไทย ให้ทุกฝ่ายมาร่วมนั่งพูดจากันอย่างสันติ เพื่อบรรเทาความขัดแย้งและระแวงสงสัยในกันและกัน โดยให้กลุ่มดังกล่าวมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความกลัว ความระแวง สงสัย ความเจ็บปวดต่างๆ พร้อมทั้งต้อง "ฟังอย่างลึกซึ้ง"ท่านแนะนำให้รัฐบาลไทยเชิญผู้มีปัญญาในสังคมทั้งหมด ผู้แทนและเชื้อเชิญทุกฝ่ายในความขัดแย้งนี้มาฟังกันอย่างลึกซึ้ง ด้วยความเมตตากรุณา เพื่อให้รู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งมีความโกรธแค้นชิงชังและสงสัยคลางแคลงเพราะอะไร แลกเปลี่ยนข้อมูลให้ทุกฝ่ายมีความเข้าใจกันจากการฟังเช่นนี้เอง เราจะตระหนักว่า เราเองก็ได้ทำอะไรผิดพลาดเช่นกัน เราควรใช้โอกาสนี้ในการขอโทษ และสัญญาว่า จะไม่ทำเช่นนั้นอีก เพื่อสมานไมตรีที่ดีต่อกันเริ่มต้นใหม่ในความสัมพันธ์วิธีเริ่มต้นใหม่ในความสัมพันธ์ หรือ Beginning Anew คือ วิธีการดูแลรักษา และ สมานความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งไม่เข้าใจกัน"การเริ่มต้นใหม่ในความสัมพันธ์" คือ วิถีทางในการดูแลความรู้สึกของกันและกัน ด้วยการมองและรับฟังกันและกันอย่างลึกซึ้ง ด้วยสายตาแห่งสติและ ความรักการเริ่มต้นใหม่ เริ่มต้นด้วยการ หว่านวาจาแห่งรัก รดน้ำดอกไม้แห่งการชื่นชม จากใจจริง บอกเล่าความทุกข์ในใจ แบ่งปันความเจ็บปวดและขอความ ช่วยเหลือจากเพื่อน การกระทำเช่นนี้ก่อให้เกิดความเข้าใจ และการช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันอย่างแท้จริงเราจะร่วมเรียนรู้วิธีการ ขั้นตอน การเริ่มต้นใหม่ ในความสัมพันธ์ใน ครอบครัว หมู่เพื่อน ในที่ทำงาน หรือแม้แต่ตัวเราเองวิธีจัดการความโกรธเมื่อเราโกรธใครคนหนึ่งสิ่งที่พระ อาจารย์ติช นัท ฮันห์ได้แนะนำคือการกลับมาตามลมหายใจ เชื้อเชิญพลังแห่งสติขึ้นมา โอบอุ้มพลังแห่งความโกรธ เมื่อเราสงบขึ้น ขอให้เราพยายามสื่อสารกับคนที่เราโกรธ ด้วยข้อความที่เต็มไปด้วยสันติ พระอาจารย์ ติช นัท ฮันห์ ได้แนะนำสามประโยคหลักในการประสานความรู้สึกและความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้1. ที่รักฉันกำลังโกรธ ฉันอยากให้เธอรู้2. ฉันพยายามอย่างดีที่สุดแล้ว3. กรุณาช่วยฉันด้วย และกรุณาอย่าทำอย่างนี้อีก การทำเช่นนี้เป็นการบอกให้คนทั้งคู่ ทั้งผู้ที่โกรธและทำให้โกรธได้มองอย่างลึกซึ้งในตัวเองและอีกฝ่าย ทั้งสองฝ่ายจะมอง อย่างลึกซึ้งว่า ได้ทำอะไรกับอีกฝ่ายและพยายามปรับปรุงพฤติกรรม การสื่อสารเช่นนี้ทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้น เราควรบ่มเพาะวาจา แห่งรัก และฟังกันอย่างลึกซึ้ง เพื่อดูแลความสัมพันธ์ต่อไปพุทธศาสนาสมสมัยเราควรจะทำให้พุทธศาสนาให้ใหม่อยู่ เสมอ ค้นคว้าวิธีการใหม่ๆ ในการนำเสนอ พุทธศาสนา เพื่อให้เข้ากับสมัยใหม่กับคนรุ่นใหม่ เราควรจะอธิบายคำสอนที่ง่าย และ เป็นรูปธรรมคนรุ่นใหม่ ไม่เข้าวัดอีกแล้ว เพราะเราไม่ได้ทำพุทธศาสนาให้ใหม่ เราต้องทำให้ พุทธศาสนาให้น่าสนใจ และมองให้ลึกซึ้งในคำสอนของพุทธองค์การปฏิบัติควรนำมาซึ่งความสมานฉันท์ สงบ สันติ และความสุข พระพุทธเจ้า ตรัสว่า พระธรรมนั้นมีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และบั้นปลาย เราต้องใช้ความ พยายามที่จะใช้ปัญญาไหวพริบ ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อทำให้พระธรรมเป็นสิ่งที่ เข้าใจง่าย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่มองอย่างลึกซึ้ง : ไร้การเกิด ไร้การตายเมื่อเรามองอย่างลึกซึ้งในสรรพสิ่ง จะพบว่าไม่มีการเกิด หรือการดับ แต่เป็นการสืบเนื่อง ดั่งเช่นเมฆ เมื่อมองอย่างลึกซึ้ง เราอาจถามว่า ก้อนเมฆมาจากไหน และจะไปไหนเมื่อตายแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างเราและก้อนเมฆคืออะไร?ก้อนเมฆได้เกิดมาก่อนจะเป็นก้อนเมฆ เคยเป็น ฝน หิมะ ตอนนี้กลายเป็นน้ำชาในมือเรา และกำลังกลายเป็นคำพูด บรรยายธรรม ฉะนั้นการเกิดการตายนั้นหามีไม่ แต่เป็นการสืบเนื่องของชีวิตเช่นเดียวกับตัวเราเอง ก่อนที่เราจะเกิด เราอยู่ในครรภ์ของมารดามาก่อน เราอาจบอกว่าเราเกิดเมื่อปฏิสนธิ แต่เราอาจถามว่า เราอยู่มา ก่อนนั้นหรือเปล่า? ถ้ามองให้ลึกซึ้งเราดำรงอยู่ก่อนหน้านั้น ครึ่งหนึ่งอยู่ในพ่อ ครึ่งหนึ่งอยู่ในแม่ ฉะนั้นในขณะที่เราเกิด คือ ช่วงขณะแห่งการสืบเนื่องความคิดว่ามีการเกิด การตาย เป็นความจริงจากการสมมุติความจริงขึ้น แต่หากเรามองอย่างลึกซึ้งเราจะเห็นความจริงสูงสุด คือ ธรรมชาติของการไร้การเกิดและการตาย หรือ นิพพาน
Comments