top of page

จริยธรรมประยุกต์

ข้อฝึกอบรมสติ 5 ประการ

ข้อฝึกอบรมสติ 5 ประการ

"ข้อฝึกอบรมสติ  5 ประการ ได้ขยายและปรับปรุงใหม่ เพื่อที่จะนำเสนอพวกเราถึงการนำสติเข้ามาใช้ในทุกส่วนของการดำรงชีวิตมากกว่าที่จะเป็นกฏเกณฑ์ต่างๆ 
ข้อฝึกอบรมสตินี้ นำเสนอเค้าโครง
ของความคิด คำพูดและการกระทำที่จะช่วยสร้างความสุขสำหรับพวกเราและสำหรับโลกรอบๆตัวเรา"

 เพื่อนพี่น้องทางธรรมที่เคารพรัก ขณะนี้คือเวลาที่พวกเราจะได้มีโอกาสสวดข้อฝึกอบรมสติ ๕ ประการร่วมกัน 

ข้อฝึกอบรมสติ๕ ประการคือ หนทางแห่งการเจริญสติ ๕ วิธี ซึ่งแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม ตามหลักคำสอน

แห่งพระพุทธองค์ ในเรื่องอริยสัจ ๔ และมรรค ๘ อันเป็นหนทางแห่งความเข้าใจและความรักอันแท้จริง

ซึ่งมีความสามารถที่จะนำไปสู่การบำบัดเยียวยา การแปรเปลี่ยน และนำความสุขมาให้กับตัวเราเองและชาวโลก 

ข้อฝึกอบรมสติ ๕ ประการนั้นคือการบ่มเพาะ ปัญญาแห่งการเป็นดั่งกันและกัน ซึ่งคือความคิดเห็นที่ถูกต้อง

(สัมมาทิฏฐิ) ความคิดเห็นที่ถูกต้องสามารถถอดถอน ความเชื่ออย่างงมงาย ความแบ่งแยก ความคับแคบ

ความกลัว ความเกลียดชัง และความสิ้นหวังทั้งปวง การดำเนินชีวิตและฝึกปฏิบัติตามข้อฝึกอบรมสติ ๕ ประการนี้

คือการนำพวกเราเข้าสู่หนทางของผู้ตื่นรู้ (พระโพธิสัตว์)  ข้อฝึกอบรมสติ ๕ ประการนี้ แสดงให้เห็นหนทาง

แห่งพระพุทธองค์ อันตั้งอยู่บนพื้นฐานทางจิตวิญญาณและจริยธรรมแห่งโลก  เมื่อเราตระหนักรู้ว่าเรากำลังอยู่บนหนทางแห่งพระพุทธองค์ เราจะไม่มีเหตุผลอันใดที่จะต้องเป็นกังวลกับปัจจุบัน และหวาดกลัวต่ออนาคต

ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 1 การปกป้องชีวิต
         ด้วยความตระหนักรู้ถึงความทุกข์จากความรุนแรงและการทำลายชีวิต  ข้าพเจ้าขอตั้งปณิธานที่จะบ่มเพาะปัญญาเห็นแจ้งของความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ของสรรพสิ่ง (การเป็นดั่งกันและกัน) และหล่อเลี้ยงเมตตากรุณาจิต

ให้เบ่งบาน เพื่อที่จะปกป้องชีวิตของมนุษย์ สัตว์ พืช และสภาพแวดล้อมของสรรพชีวิตเหล่านั้น  ข้าพเจ้าขอ

ตั้งปณิธานที่จะไม่ทำลายชีวิต ไม่ปล่อยให้ผู้อื่นทำลายชีวิต และไม่สนับสนุนการกระทำใด ๆ ที่ก่อให้เกิดการทำลายชีวิตใดชีวิตหนึ่งบนโลกนี้  ไม่ว่าจะด้วยความคิด หรือการดำเนินชีวิตประจำวันของข้าพเจ้าก็ตาม  ข้าพเจ้าเห็นว่า
การก่อความรุนแรงทั้งหลาย มีสาเหตุจาก ความโกรธ ความกลัว ความอยาก ความคับแคบ และความเชื่ออย่างงมงาย  ที่มีรากมาจากความคิดที่เป็นสองขั้ว และแบ่งแยก  ข้าพเจ้าตั้งปณิธานที่จะเรียนรู้ ฝึกฝน ให้มีทัศนะอันเปิดกว้าง
ไร้การแบ่งแยก ไม่ติดยึดกับความเห็นใดความเห็นหนึ่ง ทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง หรือระบบความคิดแบบใดแบบหนึ่ง
เพื่อที่จะแปรเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์แห่งความรุนแรง ความเชื่ออย่างงมงาย และการยึดติดในลัทธิใด ๆ ที่มีอยู่ในตัวข้าพเจ้าและในโลก
 

ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 2 ความสุขอันแท้จริง
         ด้วย ความตระหนักรู้ถึงความทุกข์จากการหาผลประโยชน์ส่วนตัว การลักขโมย การกดขี่ ความอยุติธรรมทางสังคม  ข้าพเจ้าขอตั้งปณิธานว่า จะทำทานด้วยการแบ่งปันเวลา พลัง และทรัพย์สิน ให้แก่ผู้ที่มีความจำเป็น ไม่ว่าจะโดยทาง ความคิด คำพูด และการกระทำในชีวิตประจำวันก็ตาม  ข้าพเจ้าตั้งจิตมั่นว่า จะไม่ลักขโมย  และไม่ครอบครอง สิ่งที่ควรเป็นของผู้อื่น  ข้าพเจ้าตั้งจิตมั่นว่าจะฝึกการมองอย่างลึกซึ้ง เพื่อที่จะเห็นว่า ความสุขและความทุกข์ของผู้อื่น มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดถึงความสุขและความทุกข์ของข้าพเจ้าเอง ความสุขที่แท้จริงเป็นไปไม่ได้ ถ้าปราศจากความรักและความเข้าใจ  การหาความสุขโดยวิ่งตามหา อำนาจ ชื่อเสียง ความร่ำรวย และกามารมณ์ จะนำไปสู่
ความทุกข์และความสิ้นหวัง  ข้าพเจ้าตระหนักดีว่า ความสุขที่แท้จริงไม่ได้เกิดขึ้นมาจากภายนอก แต่เกิดขึ้นมาจากภายในจิตใจของข้าพเจ้าเอง และจากวิธีการมอง การคิดของข้าพเจ้า  ดังนั้น การฝึกที่จะดำเนินชีวิตด้วยความพอดี ทำให้ข้าพเจ้ามีชีวิตอย่างมีความสุขได้ในขณะนี้ เพียงแต่ข้าพเจ้าจะต้องมีความสามารถที่จะกลับมาสู่ปัจจุบันขณะ
และตระหนักถึงเงื่อนไขแห่งความสุขที่มีพร้อมอยู่แล้ว  ข้าพเจ้าตั้งปณิธานที่จะประกอบอาชีพอันชอบธรรม
(สัมมาอาชีวะ) เพื่อที่จะบรรเทาความทุกข์ของสรรพชีวิตบนผืนโลกนี้ และเปลี่ยนแปลงกระบวนการอันส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน  
 

ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 3 ความรักที่แท้จริง
         ด้วย ความตระหนักรู้ถึงความทุกข์จากการประพฤติผิดในกาม  ข้าพเจ้าขอตั้งปณิธานว่าจะบ่มเพาะความรับผิดชอบ และ เรียนรู้วิธีที่จะปกป้อง ความปลอดภัย และความซื่อสัตย์ของปัจเจกบุคคล คู่สมรส ครอบครัว และสังคม  ข้าพเจ้ารู้ดีว่าการมีเพศสัมพันธ์ และการมีความรัก นั้นเป็นสองสิ่งที่ต่างกัน  เพราะฉะนั้น การมีความสัมพันธ์ทางเพศอันเนื่องด้วยความใคร่ จะนำมาซึ่งความทุกข์และความแตกแยกร้าวฉานให้กับตัวข้าพเจ้าเองและบุคคลอื่นอยู่เสมอ  ข้าพเจ้าตั้งปณิธานที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวมีเพศสัมพันธ์ โดยปราศจากความรักที่แท้จริง และ พันธะสัญญาอย่างเปิดเผยเป็นทางการในระยะยาวต่อกัน  ข้าพเจ้าจะทำทุกอย่างตามกำลังความสามารถ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กๆ ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ตลอดจนปกป้องไม่ให้ คู่สมรส และครอบครัวต้องแตกแยก เนื่องจากการ ประพฤติผิดในกาม  ด้วยการมองเห็นถึงการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกายและใจ ข้าพเจ้าตั้งจิตมั่นว่าจะเรียนรู้วิธีที่จะดูแลพลังทางเพศอย่างเหมาะสม และบ่มเพาะความรักความเมตตา ความกรุณา ความเบิกบาน และความไม่แบ่งแยก ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการของ
รักแท้ (พรหมวิหาร 4) เพื่อความสุขที่ยิ่งใหญ่ของตนเองและผู้อื่น   ด้วยการฝึกปฏิบัติรักที่แท้นี้ เราจะสืบเนื่อง
ได้อย่างงดงามต่อไปในอนาคตอยู่เสมอ
 

ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 4  การใช้วาจาแห่งความรักและฟังอย่างลึกซึ้ง
         ด้วย ความตระหนักรู้ถึงความทุกข์จากการกล่าวถ้อยคำ ที่ขาดความยั้งคิด และ ขาดความสามารถที่จะฟัง
อย่างลึกซึ้ง  ข้าพเจ้าขอตั้งปณิธานที่จะเรียนรู้การใช้วาจาที่ไพเราะเปี่ยมด้วยความรัก และ การตั้งใจฟังอย่างลึกซึ้ง
เพื่อที่จะช่วยหยิบยื่นความเบิกบาน แบ่งเบาความทุกข์ของผู้อื่น สร้างความสุขสันติ และฟื้นฟูความปรองดอง
สามัคคีระหว่างทุกคน ทุกเชื้อชาติ และทุกศาสนา  ข้าพเจ้ารู้ดีว่าคำพูดสามารถก่อให้เกิดความสุข หรือ ความทุกข์
กับผู้อื่นได้  ข้าพเจ้าขอตั้งจิตมั่นที่จะเรียนรู้การใช้วาจาที่ก่อให้เกิดความมั่นใจ ความเบิกบาน ความสงบ และความหวัง  ข้าพเจ้าตระหนักดีว่าถ้อยคำแห่งความจริงมีคุณค่าที่จะสร้างความเข้าใจ และ ความปรองดอง สามัคคี  ในขณะที่
ความโกรธปรากฏขึ้นในใจ ข้าพเจ้าตั้งจิตมั่นที่จะไม่กล่าวสิ่งใดๆ  แต่จะกลับมาอยู่กับลมหายใจและเดินอย่างมีสติ
เพื่อที่จะตระหนักรู้และมองอย่างลึกซึ้งเข้าไปในรากของความโกรธ  ข้าพเจ้าตระหนักดีว่าความโกรธนั้นมีรากฐานมาจากความคิดเห็นผิดที่มีอยู่ใน ตัวข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้าจะพยายามหาวิธีทำความเข้าใจกับความทุกข์ในตัวข้าพเจ้า
และในบุคคลที่ ข้าพเจ้าโกรธ  ข้าพเจ้าขอตั้งจิตมั่นว่าจะพูดแต่ความจริง และตั้งใจฟังในวิถีที่จะช่วยให้ผู้อื่นได้แปรเปลี่ยน และเห็นทางออกจากความยากลำบากที่กำลังเผชิญอยู่  ข้าพเจ้าขอตั้งปณิธานที่จะไม่กระพือข่าวที่ตัวเองไม่รู้แน่ชัด และละเว้นจากการกล่าววาจาที่จะก่อให้เกิดความแตกแยก ไม่ปรองดองกัน หรือทำให้ครอบครัว ชุมชน ต้องแตกแยกร้าวฉาน  ข้าพเจ้าขอตั้งปณิธานว่าจะฝึกปฏิบัติความเพียรอันถูกต้อง (สัมมาวายามะ) เพื่อบำรุงหล่อเลี้ยง

ความสามารถที่จะเข้าใจ รัก  และก่อให้เกิดความสุข  ตลอดจนความไม่แบ่งแยก พร้อมทั้งแปรเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์
แห่งความรุนแรง ความเกลียดชัง ความกลัว อันนอนเนื่องอยู่ในเบื้องลึกของจิตวิญญาณ
 

ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 5 การบำรุงหล่อเลี้ยงและเยียวยา
         ด้วย ความตระหนักรู้ถึงความทุกข์จากการบริโภคที่ขาดสติ   ข้าพเจ้าขอตั้งปณิธานว่าจะเรียนรู้วิธีการแปรเปลี่ยน และบ่มเพาะสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ เพื่อตัวเอง ครอบครัวและสังคม ด้วยการกิน ดื่ม บริโภคอย่างมีสติ  ข้าพเจ้าจะฝึกการมองอย่างลึกซึ้งในอาหาร 4 ประเภท ได้แก่ อาหารที่รับผ่านทางปาก อาหารทางประสาทสัมผัส อาหารทางความปรารถนา และอาหารทางวิญญาณ เพื่อหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่เป็นพิษทั้งหลาย  ข้าพเจ้าตั้งจิตมั่นที่จะไม่เล่น
การพนันเสี่ยงโชค จะไม่ใช้แอลกอฮอล์หรือสิ่งเสพติดอื่นใด รวมทั้งการบริโภคสิ่งให้โทษ เช่น อินเตอร์เนต เว็บไซต์ เกมส์ รายการวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ นิตยสาร หนังสือ และการสนทนาบางประเภท  ข้าพเจ้าขอตั้งปณิธานว่า
จะฝึกปฏิบัติการกลับสู่ปัจจุบันขณะอยู่เสมอ เพื่อสัมผัสกับความสดใสในตัวข้าพเจ้าและสิ่งรอบข้างซึ่งมีความสามารถ
ที่จะ บำรุงหล่อเลี้ยงและเยียวยา  ข้าพเจ้าตั้งจิตมั่นว่าจะไม่ปล่อยให้ความเศร้าโศก เสียใจ ดึงข้าพเจ้ากลับไปในอดีต และไม่ปล่อยให้ความกังวล ความกลัว ความอยาก ดึงข้าพเจ้าให้หลงเข้าไปในอนาคต  ข้าพเจ้าขอตั้งปณิธานที่จะไม่บริโภคเพื่อกลบเกลื่อน ความทุกข์ ความเหงา และความกังวล  ข้าพเจ้าจะมองอย่างลึกซึ้งเข้าไปในธรรมชาติแห่ง
ความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของ สรรพสิ่ง (การเป็นดั่งกันและกัน) เพื่อจะเรียนรู้วิธีบริโภคในหนทางที่จะรักษาความสุข
สันติในกายและใจของตนเอง สังคม และโลก

TPV2.jpg

การปกป้องชีวิต

สัญญาสองข้อสำหรับเด็ก ๆ

สัญญาสองข้อ เป็นข้อฝึกอบรมสติสำหรับเด็ก ๆ เพื่อที่จะบ่มเพาะความรักและความเข้าใจในตัวของเด็ก ๆ

เพื่อเปิดตัวเอง เข้าใจความทุกข์ของผู้อื่น และอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์

1. ฉันสัญญาว่า จะบ่มเพาะความเข้าใจ

เพื่อที่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับเพื่อนมนุษย์ สัตว์ พืชพันธุ์และแร่ธาตุ

2. ฉันสัญญาว่าจะบ่มเพาะความกรุณา

เพื่อที่จะปกป้องชีวิตของเพื่อนมนุษย์ สัตว์ พืชพันธุ์และแร่ธาตุ

สัญญาสองข้อ

ข้อฝึกอบรมสติ 14 ประการ

ข้อฝึกอบรมสติ 14 ประการ คือแก่นแท้ของคณะดั่งกันและกัน เป็นดั่งแสงตะเกียง ส่องทาง
เป็นดั่งเรือที่บรรทุกเรา เป็นดั่งครูบาอาจารย์ที่ช่วยแนะแนวทาง ช่วยให้ เราได้สัมผัสถึงธรรมชาติ
แห่งความเป็นดั่งกันและกันของสรรพสิ่งและเห็นได้ว่า ความสุขของตนเองนั้นไม่ได้แยกออกไป
จากความสุขของผู้อื่น ความเป็นดั่งกัน และกันไม่ได้เป็นเพียงทฤษฎี แต่เป็นความจริงที่เราแต่ละคน
สามารถสัมผัสโดยตรง ได้ในทุกขณะของชีวิตประจำวัน ข้อฝึกอบรมสติ 14 ประการช่วยให้เราบ่มเพาะ
สมาธิและปัญญารู้แจ้งซึ่งปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระจากความกลัวและการหลง อยู่ในความเป็นตัวตนที่แบ่งแยก

ข้อฝึกอบรมสติ 14 ประการ

ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 1 การเปิดใจรับ

ด้วยความตระหนักรู้ถึงความทุกข์จากความคิดที่คลั่งไคล้และคับแคบ เราตั้งสัตย์ ปณิธานที่จะไม่บูชาด้วยความหลงใหลหรือยึดติดกับคำสอน ทฤษฎี ลัทธิใด แม้แต่พุทธศาสนาก็ตาม เราตั้งจิตมั่นที่จะมองเห็นคำสอนในพุทธศาสนาในฐานะเป็นเครื่องชี้ทางให้เราเรียนรู้ที่จะมองอย่างลึกซึ้ง พัฒนาความเข้าใจและความเมตตา กรุณา มิใช่เพื่อต่อสู้ เข่นฆ่าหรือพลีชีพ เราเข้าใจว่าความคิดที่คลั่งไคล้รูปแบบ ต่างๆ นั้น เป็นผลจากการรับรู้สิ่งต่างๆ ด้วยความคิดที่เป็นสองขั้วและแบ่งแยก เราจะฝึกฝนตนเองเพื่อที่จะมองสรรพสิ่งด้วยใจเปิดกว้างและด้วยปัญญารู้แจ้ง แห่งความเป็นดั่งกันและกัน เพื่อที่จะแปรเปลี่ยนความคิดที่คับแคบและความรุนแรงในตนเองและในโลก

ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 2 การไม่ยึดติดกับความคิดเห็น

ด้วยความตระหนักรู้ถึงความทุกข์จากการยึดติดในความคิดเห็นและการรับรู้ทั้ผิด เราตั้งสัตย์ปณิธานที่จะปลดปล่อยความคิดที่คับแคบและการยึดติดกับความเห็น ที่มีอยู่ เราตั้งจิตมั่นว่าจะเรียนรูัและฝึกฝนเพื่อที่จะไม่ยึดติด
กับความคิดเห็นและเปิดรับต่อปัญญาและประสบการณ์ของผู้อื่น เพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากปัญญา
รู้แจ้งร่วมกัน เราตระหนักว่าความรู้ที่เรามีอยู่นั้นใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือ เป็นความจริงโดยสมบูรณ์
ปัญญารู้แจ้งนั้นได้มาโดยผ่านการฝึกปฏิบัติการฟังด้วย ความกรุณา การมองอย่างลึกซึ้ง และการปล่อยวาง
ความคิดเห็นที่ผิดมากกว่า ได้มาโดยผ่านการสั่งสมความรู้ความเฉลียวฉลาดทางสติปัญญา ความจริงนั้น
ค้นพบได้ในชีวิต เราพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิตและจะเพียรสังเกตชีวิตภายใน ตัวเราและรอบตัวเราอยู่ทุกขณะ

ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 3 อิสรภาพทางความคิด

ด้วยความตระหนักรู้ถึงความทุกข์จากการบังคับให้ผู้อื่นต้องเชื่อตามความเห็น ของเรา เราตั้งสัตย์ปณิธาน
ที่จะไม่บังคับผู้อื่นแม้แต่ลูกๆ หรือเด็กทั้งหลาย ไม่ว่าจะ ด้วยวิธีใดก็ตาม เช่น การใช้อำนาจหน้าที่ การขู่เข็ญ
การใช้เงินทอง ทรัพย์สิน การโฆษณาชวนเชื่อ ปลูกฝังให้เชื่อและรับเอาความคิดเห็นของเรา เราตั้งจิตมั่นว่า
จะเคารพในสิทธิของผู้อื่นที่แตกต่าง และมีทางเลือกในการเชื่อและสิทธิในการ ตัดสินใจ กระนั้นก็ตามเรา
จะเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้อื่นปล่อยวางและแปรเปลี่ยน ความหลงและความคับแคบด้วยการใช้วาจาแห่งรักและ
การสนทนาอย่างเมตตา กรุณา

ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 4 การตระหนักรู้ในความทุกข์

ด้วยความตระหนักรู้ว่าการพิจารณาธรรมชาติแห่งความทุกข์อย่างลึกซึ้งสามารถ ช่วยให้เราพัฒนาความเข้าใจ
และความเมตตากรุณา เราตั้งสัตย์ปณิธานที่จะกลับ สู่บ้านในตัวเราเพื่อตระหนักรู้ ยอมรับ โอบกอด
และรับฟังความทุกข์ด้วยพลัง แห่งสติ เราจะพยายามอย่างดีที่สดุ ที่จะไม่วิ่งหนีไปจากความทุกข์หรือกลบเกลื่อน
ความทุกข์ด้วยการบริโภค แต่จะฝึกปฏิบัติการหายใจและเดินอย่างมีสติเพื่อมอง อย่างลึกซึ้งถึงรากของความทุกข์นั้น เรารู้ว่าเราจะสามารถเห็นหนทางซึ่งนำไปสู่ การเปลี่ยนแปรความทุกข์ได้ก็ต่อเมื่อเข้าใจรากของความทุกข์ได้อย่างลึกซึ้ง และ เมื่อเราได้เข้าใจความทุกข์ของตนเองแล้วนั้น เราก็จะสามารถเข้าใจความทุกข์ ของผู้อื่นได้ เราตั้งจิตมั่น
ว่าจะหาหนทางต่าง ๆ เพื่อสัมผัสกับผู้ค้นที่ตกอยูใ่นความ ทุกข์ด้วยการไปพบด้วยตนเอง การใช้โทรศัพท์
อิเล็กโทรนิก การสื่อสารผ่านภาพ และเสียง และหนทางอื่นๆ เพื่อที่เราจะสามารถช่วยแปรเปลี่ยนความทุกข์
ในตัวของเขาทั้งหลายให้กลายเป็นความเมตตากรุณา ความสงบ และความเบิกบาน

ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 5 การดำรงชีวิตอย่างกรุณาและมีสุขภาพดี

ด้วยความตระหนักรูว้า่ความสุขที่แท้จริงตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสงบ ความ มั่นคง ความอิสระ
และความเมตตากรุณา เราตั้งสัตย์ปณิธานว่าจะไม่สะสมความ มั่งคั่งในขณะที่ผู้คนหลายล้านต้องอดอยาก
และสูญเสียชีวิต และไม่ตั้งเป้าหมาย ชีวิตเพื่อชื่อเสียง อำนาจ ความร่ำรวย หรือการหาความเพลิดเพลินทางรูป
รส กลิ่น เสียง อันจะนำความทุกข์และความสิ้นหวังมาให้มากขึ้น เราจะฝึกปฏิบัติการมองอย่างลึกซึ้ง
ถึงวิธีที่เราบำรุงหล่อเลี้ยงร่างกายและจิตใจด้วยอาหารที่รับผ่านทางปาก อาหารทางประสาทสัมผัส
อาหารทางความปรารถนา และอาหารทางวิญญาณ เราตั้งจิตมั่นที่จะไม่เล่นการพนันเสี่ยงโชค และไม่ใช้แอลกอฮอล์ สิ่งเสพติด หรือสิ่งอื่นใดที่จะนำพิษภัยเข้ามาสู่ร่างกายและจิตวิญญาณของตนเอง และส่วนรวม เช่น การบริโภคสิ่งให้โทษบางประเภทในอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ เกมส์ ดนตรี รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ นิตยสาร หนังสือและการสนทนา เราจะ บริโภคในวิถีที่จะรักษาความกรุณา การดำรงชีวิตที่ดีและความสุขศานติ ในกาย และจิตวิญญาณของตนเองและในกายและจิตวิญญาณส่วนรวมของครอบครัว สังคมและโลก

ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 6 การดูแลความโกรธ

ด้วยความตระหนักรู้ว่าความโกรธจะปิดกั้นการสื่อสารและทำให้เกิดความทุกข์ เราตั้งจิตมั่นว่าจะดูแลพลัง
แห่งความโกรธที่ปรากฎขึ้น ตระหนักรู้และแปรเปลี่ยน เมล็ดพันธุ์แห่งความโกรธที่นอนเนื่องอยู่ในห้วงลึกของจิตวิญญาณ เมื่อความโกรธ ปรากฎขึ้นเราตั้งสัตย์ปณิธานว่าจะไม่กระทำการใด ๆ หรือกล่าวอะไรในขณะที่ โกรธ
แต่จะฝึกตามลมหายใจอย่างมีสติ เดินสมาธิ รับรู้ โอบกอด และมองอย่าง ลึกซึ้งเข้าไปในความโกรธนั้น
เรารู้ว่ารากของความโกรธไม่ได้อยู่ภายนอกตัวเราแต่ จะสามารถพบได้ในการรับรู้ที่ผิดของเราเองและการขาด
ความเข้าใจในความทุกข์ ของตนเองและผู้อื่น ด้วยการพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
(ความไม่เที่ยง) เราจะสามารถมองด้วยสายตาแห่งความกรุณาต่อตนเองและต่อผู้ ที่เราคิดว่าเป็นสาเหตุของความโกรธ และตระหนักได้ถึงความสัมพันธ์อันล้ำค่าที่มีต่อกัน เราจะฝึกปฏิบัติความเพียรอันถูกต้อง (สัมมาวายามะ)
เพื่อที่จะบำรุง หล่อเลี้ยงความสามารถที่จะเข้าใจ ความรักเมตตา ความเบิกบาน และความไม่ แบ่งแยก
และค่อย ๆ แปรเปลี่ยนความโกรธ ความรุนแรง ความกลัวและช่วยเหลือ ผู้อื่นให้ปฏิบัติได้เช่นเดียวกัน

ข้อฝึกอบรมสติขอ้ที่ 7 การดำรงอยู่อย่างมีความสุขในปัจจุบันขณะ

ด้วยความตระหนักรู้ว่าชีวิตมีอยูใ่นปัจจุบันขณะเท่านั้น เราตั้งจิตมั่นที่จะฝึกฝน ตนเองให้ดำเนินชีวติอย่างลึกซึ้ง
ในทุกขณะของชีวิตประจำวัน เราจะพยายามไม่ สูญเสียตนเองไปกับความสับสนวุ่นวาย หรือถูกลากจูงไปกับ
ความเศร้าโศกในอดีต ความกังวลเกีย่วกับอนาคต หรือความอยาก ความโกรธ ความอิจฉาในขณะ ปัจจุบัน 

เราจะฝึกตามลมหายใจอย่างมีสติ เพื่อตระหนักรู้ถึงสิที่กำลังเกิดขึ้น ณ ที่นี่ และขณะนี้ เราตั้งสัตย์ปณิธานที่จะเรียนรู้ศิลปะแห่งการดารงชีวติอย่างมีสติ ด้วยการสัมผัสสิ่งที่งดงาม สดชื่น และเยียวยา ที่อยู่ภายในและรอบตัวเรา
ในทุก สถานการณ์ ด้วยวิถีทางเช่นนี้ เราจะสามารถบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความ เบิกบาน ความสงบ ความรักเมตตา และความเข้าใจในตัวเราเองเพื่อช่วยให้เกิด กระบวนการแปรเปลี่ยนและเยียวยาในจิตวิญญาณของเรา เราตระหนักว่า ความสุขที่แท้จริงนั้นขึ้นอยู่กับทัศนคติในจิตใจของตัวเราเองเป็นสำคัญและไม่ได้ ขึ้นกับสภาวะภายนอกอื่น ๆ
ดังนั้นเราจึงสามารถดำรงอยู่อย่างมีความสุขใน ปัจจุบันขณะได้อย่างง่ายดาย ด้วยการตระหนักถึงเงื่อนไข
แห่งความสุขที่มีพร้อม อยู่แล้ว

ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 8 ชุมชนและการสื่อสารที่แท้จริง

ด้วยความตระหนักรู้ว่าการขาดการสื่อสารนั้นจะก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความ ทุกข์อยู่เสมอ เราตั้งจิตมั่นที่จะฝึกฝนการฟังด้วยความกรุณาและพูดด้วยวาจาแห่ง รัก รู้ว่าชุมชนที่แท้จริงมีรากจากความไม่แบ่งแยกและการฝึกปฏิบัติ
อย่างจริงจัง ของความกลมกลืนสมานฉันท์ในทัศนคติ ความคิด และคำพูด เราจะฝึกปฏิบัติ ที่จะแบ่งปันความเข้าใจและประสบการณ์กับสมาชิกในชุมชน เพื่อที่จะได้มาซึ่ง ปัญญารู้แจ้งร่วมกัน เราตั้งสัตย์ปณิธานว่าจะเรียนรู้ที่จะฟังอย่างลึกซึ้งโดยไม่ตัดสินหรือแสดงปฏิกิริยา ตอบโต้และละเว้นจากการกล่าวคำใดๆ ที่จะก่อให้เกิดความไม่สามัคคีปรองดองกัน หรือเป็นสาเหตุให้ชมุชนต้องแตกแยกร้าวฉาน เมื่อมีความยากลำบากเกิดขึ้น เรา จะอยู่ร่วมกับสังฆะ
และฝึกปฏิบัติการมองอย่างลึกซึ้งในตัวเราและผู้อื่น เพื่อที่จะ เห็นถึงสาเหตุและสภาวะทั้งหมด รวมถึงพลังนิสัย
ความเคยชินของเราทีท่าให้เกิด ความยากลำบากขึ้น เราจะรับผิดชอบต่อสิ่งที่เราอาจมีส่วนทำให้เกิดความขัดแย้ง
และเปิดช่องการสื่อสารไว้ เราจะไม่ประพฤติตนเหมือนว่าเราเป็นผู้ถูกกระทำ แต่จะหาทางฟื้นคืนความสัมพันธ์
และแก้ไขความขัดแย้งทั้งหมดถึงแม้จะเป็นเรื่อง เล็กก็ตาม

ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 9 วาจาจริงและวาจาแห่งรัก

ด้วยความตระหนักรู้ว่าคำพูดสามารถสร้างความทุกข์และความสุขได้ เราตั้งจิตมั่น ที่จะฝึกฝนการกล่าววาจา
ที่เป็นจริงและสร้างสรรค์ ใช้แต่ถ้อยคำทีท่าให้เกิดแรง บันดาลใจ ความหวัง และความเชื่อมั่น และส่งเสริมให้
มีการฟื้นคืนความสัมพันธ์ และศานติในตัวเราและระหว่างบุคคลอื่น เราจะพูดและฟังในวิถีที่ช่วยให้ตัวเรา
และผู้อื่นสามารถเปลี่ยนแปรความทุกข์และเห็นทางออกจากความยากลำบากที่ กำลังเผชิญอยู่ เราตั้งสัตย์ปณิธาน
ที่จะไม่กล่าวสิ่งที่ไม่เป็นจริงเพื่อผลประโยชน์ ส่วนตัวหรือทำให้ผู้อื่นประทับใจ รวมทั้งไม่กล่าวถ้อยคำใด ๆ
ที่อาจก่อให้เกิดความ แบ่งแยกหรือความเกลียด เราจะปกป้องความสุขและความปรองดองสมานฉันท์
ในสังฆะของเราโดยการไม่กล่าวถึงความผิดของอีกบุคคลหนึ่งในขณะที่เขาไม่อยู่ และถามตนเองอยู่เสมอว่า
การรับรู้ของเรานั้นถูกต้องแล้วหรือ เราจะพูดด้วยความ ตั้งใจที่จะเข้าใจและเปลี่ยนแปรสถานการณ์เท่านั้น
เราจะไม่กระพือข่าวที่ตนเอง ไม่รู้แน่ชัดหรือวิพากษ์วิจารณ์ หรือกล่าวโทษในสิ่งที่ตัวเองไม่แน่ใจ เราจะพยายาม
อย่างดีที่สุดที่จะบอกเล่าถึงความอยุตธิรรมที่เกิดขึ้น แม้การกระทำเช่นนั้นอาจจะ คุกคามความปลอดภัยของเราเอง

ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 10 การปกป้องและการบำรุงหล่อเลี้ยงสังฆะ

ด้วยความตระหนักรู้ว่าแก่นและเป้าหมายของสังฆะคือการฝึกฝนความเข้าใจและ ความเมตตากรุณา
เราตั้งสัตย์ปณิธานที่จะไม่ใช้ชุมชนพุทธศาสนาเพื่อหาอำนาจ หรือผลกำไรส่วนตัว หรือแปรเปลี่ยนชุมชน
ให้เป็นเครื่องมือทางการเมือง อย่างไร ก็ตามในฐานะสมาชิกของชุมชนทางจิตวิญญาณเราควรมีจุดยืนที่ชัดเจน
ในการ ต่อต้านการกดขี่และความอยุตธิรรม และพยายามอย่างเต็มที่ที่จะเปลี่ยนแปลง สถานการณ์โดยไม่เลือกเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เราตั้งจิตมั่นที่จะมองด้วยสายตา แห่งความเป็นดัง่กันและกัน และเรียนรู้ที่จะเห็นตนเองและผู้อื่น
เป็นดั่งเซลล์ในกาย เดียวกันแห่งสังฆะ ขณะที่เราเป็นเซลล์ที่แท้จริงในกายแห่งสังฆะซึ่งทำหน้าที่สร้าง สติ สมาธิ
และปัญญาเพื่อหล่อเลี้ยงตนเองและทั้งชุมชน เราแต่ละคนก็คือเซลล์ใน กายแห่งพุทธะด้วยในเวลาเดียวกัน
เราจะจริงจังต่อการสร้างความรักฉันพี่น้อง ไหลล่องไปดั่งแม่น้ำเดียวกัน และฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาอำนาจที่แท้จริง
3 ประการ คือ ความรักเมตตา ความเข้าใจ และการตัดได้ซึ่งกิเลส เพื่อตระหนักถึงการตื่นรู้ ร่วมกัน

ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 11 สัมมาอาชีวะ

ด้วยความตระหนักรู้ว่ามีความรุนแรงอันใหญ่หลวงและความอยุติธรรมเกิดขึ้นกับ สิ่งแวดล้อมและสังคม
เราตั้งจิตมั่นที่จะไม่ประกอบอาชีพที่เป็นโทษต่อมนุษย์และ ธรรมชาติ เราจะทำอย่างดีที่สุดในการเลือกอาชีพ
ที่เสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก และช่วยให้อดุมคติแห่งความเข้าใจและความเมตตา
กรุณาของเราเป็นจริงได้ ด้วยความตระหนักรู้ถึงความเป็นจริงของเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมในระดับโลก
และความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันกับสภาพแวดล้อม เราตั้งสัตย์ปณิธานที่จะประพฤติตนอย่างรับผิดชอบในฐานะ
ของผู้บริโภคและ พลเมือง โดยจะไม่ลงทุนหรือซื้อจากบริษทที่สิ่งเสริมการผลาญทรัพยากรธรรมชาติ
ทำอันตรายต่อโลกและตัดทอนโอกาสในการมีชีวิตของผู้อื่น

ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 12 ความเคารพต่อชีวิต

ด้วยความตระหนักรู้ถึงความทุกข์มากมายที่มีต้นเหตุจากสงครามและความขัดแย้ง เราตั้งสัตย์ปณิธานที่จะบ่มเพาะปัญญารู้แจ้งแห่งความเป็นดั่งกันและกัน ความเมตตากรุณา และการไม่ใช้ความรุนแรงในชีวิตประจำวันเพื่อที่จะสนับสนุน การศึกษาด้านสันติภาพ การเป็นสื่อกลางอย่างมีสติและความปรองดองกันภายใน ครอบครัว ชุมชน
เผ่าพันธุ์ และศาสนาทุกศาสนา ประเทศชาติและโลก เราตั้งจิต มั่นที่จะไม่ทำลายชีวิตและไม่ปล่อยให้ผู้อื่นทำลายชีวิต เราจะไม่สนับสนุนการ ทำลายชีวิตใด ๆ ในโลกทั้งในความคิดหรือในวิถีชีวีตของเรา เราจะหมั่นฝึกฝนการ
มองอย่างลึกซึ้งร่วมกับสังฆะของเราเพื่อหาวิธีที่ดียิ่งขึ้นในการปกป้องชีวิต ยับยั้ง การเกิดสงครามและสร้างสันติสุข

ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 13 ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

ด้วยความตระหนักรู้ถึงความทุกข์จากการหาผลประโยชน์ส่วนตน ความอยุตธิรรม ทางสังคม การลักขโมย
และการกดขี่ เราตั้งจิตมั่นที่จะบ่มเพาะความ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในวิถีทางแห่งการคิด การพูดและการกระทำ
เราจะฝึกความรัก เมตตาโดยการทำงานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน สรรพสัตว์ พืชพันธุ์ และแร่ธาตุ
และแบ่งปันเวลา พลังงาน และทรัพย์สินให้แก่ผู้ที่มีความจำเป็น เราตั้งสัตย์ ปณิธานที่จะไม่ลักขโมยและ
ไม่ครอบครองสิ่งที่ควรเป็นของผู้อื่น เราจะเคารพใน ทรัพย์สินของผู้อื่นแต่จะคอยปกป้องไม่ให้ผู้อื่นหาผลประโยชน์
บนความทุกข์ของ มนุษย์หรือสรรพชีวิตอื่นๆ

ข้อฝึกอบรมสติข้อที่ 14 รักแท้

[สำหรับฆราวาส]

ด้วยความตระหนักรู้ว่าความต้องการทางเพศนั้นไม่ใช่ความรัก และความสัมพันธ์ทางเพศที่ถูกขับเคลื่อนด้วยความใคร่ไม่สามารถบรรเทาความ เหงา แต่จะยิ่งก่อให้เกิดความทุกข์ ความคับข้องใจและความโดดเดี่ยวมากขึ้น เราตั้งสัตย์ปณิธานที่จะไม่มีเพศสัมพันธ์โดยปราศจากความรักความเข้าใจซึ่งกันและกันและพันธะสัญญาระยะยาวอันลึกซึ้ง
ซึ่งรับรู้โดยครอบครัวและเพื่อน ๆ ของเรา ด้วยการมองเห็นว่าร่างกายและจิตใจเป็นหนึ่งเดียวกัน เราตั้งจิตมั่นว่า
จะเรียนรู้ถึง วิถีทางที่เหมาะสมในการดูแลพลังทางเพศและบ่มเพาะความรักเมตตา ความ กรุณา ความเบิกบาน
และความไม่แบ่งแยก เพื่อความสุขของตนเองและผู้อื่น เราจะต้องตระหนักถึงความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ที่อาจมีสาเหตุมาจากความสัมพันธ์ทางเพศ เรารู้ว่าเพื่อที่จะถนอมรักษาความสุขของตนเองและผู้อื่น
เราจะต้องเคารพต่อสิทธิและพันธะสัญญาของตนเองและผู้อื่น เราจะทำทุกวิถีทาง ตามกำลังความสามารถ
เพื่อป้องกันไม่ให้เด็ก ๆ ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ตลอดจนปกป้องไม่ให้คู่ชีวิตและครอบครัวต้องแตกแยกเนื่องจาก
การประพฤติผิดในกาม เราจะปฏิบัติต่อร่างกายของเราอย่างกรุณาและด้วยความเคารพ เราตั้งสัตย์ปณิธาน
ที่จะมองอย่างลึกซึ้งเข้าไปในอาหาร 4 ประเภท และเรียนรู้วิถีทางที่จะถนอมรักษาและนำช่องทางให้กับพลังชีวิต
ของเราได้แก่ พลังทางเพศ ลมหายใจ และจิตวิญญาณ เพื่อให้อุดมคติแห่งพระโพธิสัตว์ของเราได้เป็นจริง
เราจะตระหนักรู้อย่างเต็มเปี่ยมถึงความรับผิดชอบในการนำชีวิตใหม่มาสู่โลก และภาวนาต่อโลกที่เรากำลังให้
กำเนิดชีวิตใหม่

[สำหรับนักบวช]

ด้วยความตระหนักรู้ว่าปณิธานของนักบวชสามารถเป็นจริงได้เมื่อละทิ้งความ ผูกพันในความรักทางโลกอย่างสิ้นเชิงเท่านั้น เราตั้งจิตมั่นที่จะรักษาพรหมจรรย์ และช่วยเหลือผู้อื่นให้ปกป้องตนเอง เราตระหนักรู้ว่าความเหงาและความทุกข์ไม่สามารถที่จะบรรเทาได้ด้วยการเข้ามาหากันด้วยกายทั้งสองในความสัมพันธ์ทางเพศ แต่โดยการฝึกฝนให้เกิดความรักเมตตา ความกรุณา ความเบิกบานและความ ไม่แบ่งแยก เรารู้ว่าความสัมพันธ์ทางเพศจะทำลายชีวิตของนักบวช และปิดกั้นเราจากการเข้าถึงอุดมคติแห่งการรับใช้สรรพชีวิตและจะทำร้ายผู้อื่น เราจะเรียนรู้ถึงวิถีทางอันเหมาะสมในการดูแลพลังทางเพศ เราตั้งสัตย์ปณิธานที่จะไม่กดดัน หรือทารุณร่างกายของเรา หรือมองว่าร่างกาย
เราตั้งจิตมั่นที่จะมองอย่างลึกซึ้งเข้าไปในอาหาร 4 ประเภทเพื่อที่จะถนอม รักษาและนำช่องทางให้กับพลังชีวิต
ของเราได้แก่ พลังทางเพศ ลมหายใจ และ จิตวิญญาณ เพื่อให้เข้าถึงอุดมคติแห่งพระโพธิสัตว์ของเรา

bottom of page