ท่านรู้สึกว่ามีสิ่งใดที่บั่นทอนหรือเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตในลักษณะนี้ และมีสิ่งใดที่เป็นพลังให้ท่านใช้ชีวิตเช่นนี้ต่อไปคะ
ชีวิตนักบวชก็เป็นชีวิตเหมือนกับการ ที่เราตัดสินใจจะปฏิวัติตัวเอง เหมือนเราตัดสินใจ เดินเข้าสู่สงคราม แต่เป็นสงครามแห่งสันติภาพ คือตัดสินใจที่จะไปสู่ทางหลุดพ้นจาก ทุกข์ การตัดสินใจคือการที่เราจะเผชิญกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น เรายอมที่จะเปิดตัวเอง เปิดจิตใต้สำนึก สัมผัสกับความดีงาม ยอมเผชิญกับความทุกข์ และหาวิธีที่จะเปลี่ยนแปร สภาพความทุกข์นั้นให้เป็นความสุข
เพราะฉะนั้นเมื่อมองอย่างนี้แล้ว ไม่เคยมีอุปสรรคในเรื่องที่บั่นทอนว่า เอ๊ะ เราเป็น นักบวชมาแล้วคุ้มไหม ไม่คุ้ม ไม่เคยคิดอย่างนั้น เราตัดสินใจบวช เพราะเรารู้แล้วว่า เราต้องอยู่ได้ด้วยวิธีนี้เท่านั้น วิถีชีวิตแบบนี้กลายเป็นเนื้อหนังมังสาของเรา ถ้าเกิดว่า ถ้าไม่อยู่แบบนี้ก็ไม่รู้จะอยู่แบบไหน ฉะนั้นจะเห็นว่า เป็นวิถีชีวิตที่เราต้องการจะอยู่จริงๆ
แต่สิ่งที่จะผลักเราออกไปจากชีวิตนักบวช คือความทุกข์ในตัวเราเอง เวลาที่เรามี ความทุกข์ในตัวเอง เราไม่รู้วิธีที่เราจะดูแลความทุกข์ของเรา ไม่รู้วิธีที่จะเปลี่ยนแปร สภาวะความทุกข์ของเรา ตัวเราเองเป็นตัวที่จะผลักเราออกไปจากสังฆะ ตัวเราเองเป็น ตัวที่บั่นทอนตัวเราเอง และตัวเราเองเป็นผู้ที่ออกจากชีวิตนักบวช
ช่วงที่บวชใหม่ๆ ตอนที่เป็นสามเณรีก็จะมีช่วงเดียวที่มีความรู้สึกว่า โอ้โห ทำไมความ ทุกข์ในตัวเรามันช่างเยอะมากขนาดนี้ และจะมีแค่แว๊บเดียวเท่านั้นที่ตั้งคำถามว่า เอ๊ะ เดี๋ยวเราออกไปอยู่กับเพื่อนดีไหม เราก็จะช็อก เอ๊ะ เราคิดอย่างนี้ได้อย่างไร เพราะเรา รู้สึกว่าพลังที่เราจะอยู่เป็นนักบวชไปตลอดชีวิตนี้แรงมาก แต่ว่าด้วยความที่มีพลังแห่งสติ เพราะฉะนั้นกลับมาอยู่กับลมหายใจ เพราะเรารู้แล้วว่า หายใจเข้า อ๊ะ อันนี้เป็นความคิดที่ ไม่ก่อเกิดประโยชน์ หายใจออก เราก็ปล่อยวาง
พอบอกกับสังฆะ สังฆะก็จะช่วยโอบรับเรา พอใครมาดูก็บอกว่า ไม่น่าตกใจ เพราะว่า ในช่วงนั้นอายุยังน้อย ทั้งอายุการบวชและวิธีที่จะดูแลความทุกข์ เราไม่รู้จักวิธีดูแลที่ ถูกต้องเพียงพอ เพราะฉะนั้น ต้องทำให้เมล็ดพันธุ์ตรงนี้ที่อยากจะหนีออกไป หนีออกจาก ทุกข์ของตัวเองเกิดขึ้นมาได้ พอเรามีพลังแห่งสติมันก็เกิดขึ้นมาแว๊บเดียวเอง แล้วก็ลงไป
|